การประชุมโครงการพัฒนาศักยภาพเรื่อง แนวคิดและหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดน แบบบูรณาการ

การประชุมโครงการพัฒนาศักยภาพเรื่อง แนวคิดและหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดน แบบบูรณาการ


 

สำนักบริหารจัดการลุ่มน้ำระหว่างประเทศ จัดการฝึกอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพแนวคิดและหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดนแบบบูรณาการ เมื่อวันที่ ๒๘ – ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๑ ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ กรุงเทพมหานคร

วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมฯ

๑. เพื่อเผยแพร่การให้แนวคิดและหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดนแบบบูรณาการ

๒. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ข้อมูลและองค์ความรู้ลุ่มแม่น้ำโขงให้บุคลาการภายในกรมทรัพยากรน้ำ และบุคลากรจากหน่วยงานภายนอกมีความรู้กว้างขวางและแพร่หลาย

๓. เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                   โดยมีผู้เข้าร่วม ได้แก่ ผู้แทนจาก กรมชลประทาน กรมควบคุมมลพิษ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมประมง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมเจ้าท่า สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติลิ่งแวดล้อม  กรมโยธาธิการและผังเมือง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร หน่วยงานภายในกรมทรัพยากรน้ำ และเจ้าหน้าที่จาก สำนักบริหารจัดการลุ่มน้ำระหว่างประเทศ

เนื้อหาของการฝึกอบรมแนวคิดและหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดนแบบบูรณาการในลุ่มน้ำโขง มีประเด็นที่เกี่ยวข้องต่างๆ หลากหลายด้าน เช่น การบริหารจัดการ การเกิดผลกระทบเนื่องจากการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน การเกิดอุทกภัยและภัยแล้ง การเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการติดตามคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำโขง ฯลฯ เป็นต้น

ไฟล์การนำเสนอ

วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๑

หัวข้อ

วิทยากร

ความร่วมมือแม่น้ำโขง

Water Governance of the International River Basin: Case Study of the Mekong River

Water Resources Development and Management of the Lower Mekong River Basin

รศ.ชัยยุทธ สุขศรี

ลุ่มน้ำระหว่างประเทศและข้อมูลลักษณะทางกายภาพของลุ่มแม่น้ำโขง

ดร.วินัย วังพิมูล

 ระบบติดตามข้อมูลอุทกวิทยาและวัฎจักรน้ำของแม่น้ำโขงตอนล่าง

นางสาวนารี อินทรวิเชียร

ระบบพยากรณ์อุทกภัยและการคาดการณ์น้ำท่วมเฉียบพลัน (MRC-FFG) ในลุ่มน้ำโขง

ดร. สุประภาพ พัฒน์สิงหเสนีย์

ระบบข้อมูลข่าวสารคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย http://archive.tnmc-is.org/

นายพูนศักดิ์ วิเศษโสภา

วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๑

หัวข้อ

วิทยากร

การพัฒนาเครื่องมือทางเทคนิคเพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจในระบบเว็บเบส (Web- base) และการประยุกต์ใช้
เครื่องมือในระดับภูมิภาคเพื่อจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำอย่างบูรณาการ

6.1_Introduction to RDS_Thai

6.2_02_SERVIR Mekong_Web-WASP in Thai    

ดร. ชูสิทธิ์ อภิรมย์มณีกุล

การใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา การแปลความหมายข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ และข้อมูลดาวเทียมอุตุนิยม

วิทยาเพื่อเฝ้าระวัง ติดตามและพยากรณ์อากาศ บริเวณลุ่มน้ำโขง

ดร.กมล พรหมสาขา ณ สกลนคร

แผนการใช้ที่ดินของประเทศไทย และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน

นายดิเรก คงแพ

การศึกษาติดตามคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำโขง

ดร.ปิณิดา ลีลพนัง กำแพงทอง

ผลการศึกษาตามผลกระทบข้ามพรมแดน (Council Study) และแบบจ้าลองประเมินด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
(DRIFT)
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพการไหลของน้ำ

ดร.วินัย วังพิมูล

ผลการศึกษาตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ( TNMC Study)

ดร.วินัย วังพิมูล

 

[Not a valid template]

 

 



© 2016 สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย