เมื่อวันที่ 1-2 มีนาคม 2561
ณ โรงแรมดุสิต ไอส์แลนด์ รีสอร์ท จ.เชียงราย
—————————————–
จากการประชุมระดับผู้นำกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 1 ณ เมืองซานย่า สาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม เข้าร่วมประชุม และได้ร่วมรับรองปฏิญญาซานย่า พ.ศ. 2559 พร้อมกับจัดตั้งกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง(Mekong-Lancang Cooperation: MLC) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนา และส่งเสริมกระบวนการพัฒนาประชาคมอาเซียน โดยได้แลกเปลี่ยนความร่วมมือใน 3 เสาหลัก ได้แก่ 1) การเมืองและความมั่นคง 2) เศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน และ 3) การแลกเปลี่ยนด้านสังคม วัฒนธรรมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชน และภายใต้เสาหลักดังกล่าว มีขอบเขตการดำเนินงานเฉพาะด้าน 6 สาขา ได้แก่ สาขาทรัพยากรน้ำ สาขาความเชื่อมโยง สาขาอุตสาหกรรม สาขาเศรษฐกิจข้ามพรมแดน สาขาเกษตรกรรม และสาขาการลดความยากจน ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างจะดำเนินงานภายใต้การขับเคลื่อนในระดับผู้นำ ระดับรัฐมนตรี ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับคณะทำงาน (๋Join Working Group : JWG)
สำหรับความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมทรัพยากรน้ำ ทำหน้าที่หน่วยงานกลางประสานงานของคณะทำงานฝ่ายไทย ได้เข้าร่วมการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบเอกสารแนวคิด (Concept Note) ที่ระบุกลไกการดำเนินงานของคณะทำงานร่วมฯ และการหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมตามความพร้อมของประเทศสมาชิก
[Not a valid template]
ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานร่วมสาขาทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1-2 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมดุสิต ไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย ร่วมกับการประชุมวิชาการนานาชาติ ในหัวข้อ “ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดนและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง” (Transboundary Water Resources and Related Resources) โดยมีอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและกรมทรัพยากรน้ำ ร่วมเป็นคณะทำงาน โดยมีวาระการประชุมสำคัญที่พิจารณาและหารือในหลายประเด็น เช่น
ซึ่งการประชุมครั้งนี้ จะเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะได้ผลักดันข้อเสนอด้านความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำกับจีน ตลอดจนการวิจัยร่วมด้านการจัดการสภาวะวิกฤตด้านน้ำท่วมและน้ำแล้ง เพื่อเป็นการส่งเสริม และพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรในประเทศ ให้มีผลเป็นรูปธรรมและสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศลุ่มแม่น้ำโขง นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
[Not a valid template]
ที่มา : สำนักบริหารจัดการลุ่มน้ำระหว่างประเทศ กรมทรัพยากรน้ำ