โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน
จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ โรงแรมไอโฮเท็ล ต.ท่าค้อ อ.เมือง จ.นครพนม
กรมทรัพยากรนํ้า ได้ดำเนินโครงการศึกษาติดตามและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากในปีงบประมาณ ๒๕๕๗-๒๕๕๙ เข้าสู่การศึกษาในปีที่ ๔ เพื่อให้ประเทศไทยมีฐานข้อมูล ข้อเท็จจริงเพียงพอ และทันเหตุการณ์ต่อการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานโดยให้ความสำคัญต่อ การพัฒนาระบบฐานข้อมูล สร้าง และปรับปรุงแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการสร้างสถานการณ์จำลอง รวมทั้งพัฒนาแนวทางการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานมีประสิทธิภาพมากขึ้น คลอบคลุมพื้นที่ศึกษา ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร จากริมฝั่งแม่นํ้าโขงและจุดบรรจบของลำนํ้าสาขาพื้นที่ ๘ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
วัตถุประสงค์การประชุม ๑.เพื่อนำเสนอผลสรุปการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ ๒.เพื่อนำแจ้งแผนการศึกษา และการดำเนินงานในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ ๓.เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะของกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับโครงการที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินของโครงการ ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น จากการประชุมดังนี้ ๑.ข้อมูล องค์ความรู้ที่ประชาชนในพื้นที่ต้องการทราบเพิ่มเติม ได้แก่ ข้อมูลปริมาณน้ำขึ้น-น้ำลง การเพิ่มขึ้นและลดลงของปริมาณปลา คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ๒.ความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่ ต้องการให้กรมทรัพยากรน้ำ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การสื่อสาร และการเผยแพร่ข้อมูล ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ ควรมีการวางแผนการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ๓.ความร่วมมือกับภาคประชาชน ต้องการให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมให้มากขึ้นกว่า ๓ ปีที่ผ่านมาสร้างจิตสำนึกรักษ์พื้นที่ สร้างความเข้มแข็งทุกมิติ สร้างความร่วมมือ เพื่อความเป็นอยู่ของประชาชนคนลุ่มน้ำโขง โดยเป็นการร่วมมือในทุกระดับและให้ภาคประชาสังคมรู้สึกเป็นเจ้าของงานวิจัยร่วมกัน และมีมาตรการลดผลกระทบที่เหมาะสมยั่งยืนร่วมกัน ผู้เข้าร่วมการประชุม รวมทั้งสิ้น ๑๒๐ ราย ประกอบด้วย เครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขง ผู้แทนกรมทรัพยากรน้ำ ผู้แทนหน่วยงานราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง บริษัทที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ
[Not a valid template]