การอบรมโครงการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพยากรณ์และการเตือนภัยทรัพยากรน้ำ

๑. การอบรมฯครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพยากรณ์และการเตือนภัยทรัพยากรน้ำของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมทรัพยากรน้ำ โดยที่ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ (ศปว.) ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นผู้ดำเนินการจัดการอบรมฯ

๒. การอบรมฯ มีผู้เข้าร่วมการอบรมฯทั้งหมด จำนวน ๓๐ คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากกรมทรัพยากรน้ำในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

๓. สาระสำคัญของการอบรมฯสรุปได้ดังนี้

๓.๑ การฝึกอบรมฯ แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง รวมระยะเวลา ๑๖ วัน คือ

๑) ช่วงที่ ๑ วันที่ ๖ – ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ การฝึกอบรมภาคทฤษฎีเกี่ยวกับ อุทกวิทยา ชลศาสตร์การไหลของน้ำ การวิเคราะห์สมดุลน้ำ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และการพยากรณ์น้ำฝน น้ำท่า

๒) ช่วงที่ ๒ วันที่ ๑๓ – ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ การฝึกอบรมภาคปฏิบัติเกี่ยวกับ การใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และการจัดทำแบบจำลองคณิตศาสตร์

๓) ช่วงที่ ๓ วันที่ ๕ – ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙ การฝึกอบรมภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำแบบจำลองคณิตศาสตร์ และการอบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์

๓.๒ ช่วงที่ ๑ วันที่ ๖ – ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ การฝึกอบรมภาคทฤษฎีเกี่ยวกับทางด้านอุทกวิทยา ชลศาสตร์การไหลของน้ำ การวิเคราะห์สมดุลน้ำ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และการพยากรณ์น้ำฝน น้ำท่า

โดยก่อนเข้ารับการฝึกอบรมมีการทำแบบทดสอบ เพื่อทดสอบความรู้เบื้องต้นของผู้ที่เข้ารับการอบรม จากนั้นวิทยากร ได้บรรยายเกี่ยวกับกระบวนขอบเขตข้อมูลวัฏจักรทางอุทกวิทยา การตรวจวัดปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่า การประเมินปริมาณน้ำท่าด้วยวิธีต่างๆ การใช้เกจในการวัดปริมาณน้ำ หลักการชลศาสตร์การไหลของน้ำและการคำนวณอัตราการไหล บรรยายเกี่ยวกับการจำแนกประเภทการไหล ต่างๆ สมการพลังงาน ฯลฯ

การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ วิทยากรได้บรรยายเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสารปนเปื้อนในแหล่งน้ำ แหล่งน้ำผิวดินตามการใช้ประโยชน์ มาตรฐานคุณภาพของน้ำผิวดิน ฯลฯ

การเฝ้าพยากรณ์ การเฝ้าระวังและเตือนภัย วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับระบบการพยากรณ์ การเฝ้าระวังและเตือนภัย

ในช่วงที่ ๒ วันที่ ๑๓ – ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ การฝึกอบรมภาคปฏิบัติเกี่ยวกับ การใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และการจัดทำแบบจำลองคณิตศาสตร์

วันที่ ๑๓-๑๔ มิถุนายน วิทยากร ได้บรรยายเกี่ยวกับหลักการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ องค์ประกอบความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ฯลฯ

วันที่ ๑๕-๑๗ มิถุนายน วิทยากรคุณมานะ กิติรัตน์ ได้บรรยายเกี่ยวกับหลักการทำงานของโปรแกรม MIKE๑๑ – RR , MIKE๑๑ – HD , MIKE๑๑ – FLOOD

โดยโปรแกรม MIKE๑๑- RR เป็นแบบจำลองที่สามารถคำนวณปริมาณน้ำท่าจากปริมาณน้ำฝนในรูปของความสัมพันธ์ของ Rainfall-Runoff Relationship

โปรแกรม MIKE๑๑ – HD เป็นแบบจำลองที่ใช้การวิเคราะห์พฤติกรรมการไหลของน้ำในแม่น้ำ (River) และพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ (Floodplain) โดยสามารถวิเคราะห์ระดับน้ำและปริมาณน้ำ ได้ที่จุดต่างๆของแม่น้ำ

โปรแกรม MIKE๑๑ – FLOOD เป็นแบบจำลองทางด้านน้ำท่วม (Hydrodynamics model) ที่คำนวณเชื่อมโยงระหว่างการไหลแบบ ๑ มิติและ ๒ มิติ โดยทำการคาดการณ์การไหลในลำน้ำล่วงหน้าได้

ในช่วงที่ ๓ วันที่ ๕ – ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙ การฝึกอบรมภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำแบบจำลอง

คณิตศาสตร์ และการอบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

วันที่ ๕-๖ กรกฎาคม วิทยากรได้ทบทวนเกี่ยวกับหลักการทำงานของโปรแกรม MIKE๑๑ -RR, MIKE๑๑ -HD และฝึกอบรมภาคปฏิบัติโปรแกรม MIKE๑๑ -AD, โปรแกรม MIKE๑๑ –ECOLAB

โปรแกรม MIKE๑๑-AD เป็นแบบจำลองการพาและแพร่กระจาย โดยสามารถอธิบายถึงการเคลื่อน ย้ายของสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

โปรแกรม MIKE๑๑-ECOLAB เป็นแบบจำลองทางด้านคุณภาพน้ำ ซึ่งจำลองการกระบวนการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรทางคุณภาพน้ำรวมทั้งจำลองการพาและการแพร่ทำการคาดการณ์คุณภาพน้ำในลำน้ำล่วงหน้า ด้วยข้อมูลปริมาณมลพิษลงสู่ลำน้ำที่ประมาณการไว้สามารถใช้วิเคราะห์ Scenario ต่างๆได้

วันที่ ๗ กรกฎาคม วิทยากรได้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิคการพยากรณ์ด้วยสมการแบบถดถอย

(Regression Model) โดยการวิเคราะห์การถดถอย ( Regression Analysis) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (Regression Coefficient) และเทคนิคการพยากรณ์ด้วยโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network, ANN) เป็นหนึ่งในเทคนิคของการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) คือ โมเดลทางคณิตศาสตร์ สำหรับประมวลผลสารสนเทศด้วยการคำนวณแบบคอนเนคชันนิสต์ เพื่อจำลองการทำงานของเครือข่ายประสาทในสมองมนุษย์

[Not a valid template]

วันที่ ๘ กรกฎาคม ได้มีการทำแบบทดสอบเกี่ยวกับเนื้อหาหลังจากเข้ารับการฝึกอบรมรวมถึงการสอบภาคปฏิบัติเกี่ยวกับโปรแกรม MIKE๑๑ หลังจากนั้น รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ นายวิวัฒน์ โสเจยยะ ได้ทำการมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม วันที่ ๙-๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ศึกษาดูงานภาคสนามในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับการพยากรณ์และการเตือนภัยทางด้านทรัพยากรน้ำมากยิ่งขึ้น โดยได้ไปศึกษาดูงาน ดังนี้

๑. เขื่อนปากสักชลสิทธิ์

[Not a valid template]

๒. เยี่ยมชมสถานี C๒ ของกรมชลประทาน ที่จังหวัดนครสวรรค์

[Not a valid template]

๓. เยี่ยมชมสถานี TN๐๙ ของกรมทรัพยากรน้ำ

[Not a valid template]

๔. เยี่ยมชมจุดบรรจบของแม่น้ำยมที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่านที่วัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) ที่จังหวัดนครสวรรค์

[Not a valid template]

 



© 2016 สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย